ข้อมูลน่ารู้สำหรับ ผู้ที่เพิ่งเดินทางมาฮอกไกโด |
หาบ้าน ┃ทำประกันไฟไหม้┃ลงทะเบียนต่างด้าว ┃ทำประกันสุขภาพ
เปิดบัญชีธนาคาร┃เปิดโทรศัพท์มือถือ┃สมัครบัตรเครดิต┃ส่งเงินกลับเมืองไทย
1. หาที่พักและทำสัญญาเข้าอยู่อาศัย โดยปกติแล้วต้องติดต่อผ่านตัวแทนรับจัดหาบ้านและควรพาคนที่มีความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นไปด้วย
2. ทำประกันไฟไหม้บ้าน (火災保険 = kasaihoken) ที่สหกรณ์มหาวิทยาลัย (โคออป) หรือบริษัทประกัน และกรณีที่ต้องทำงานในแลปแนะนำให้ทำประกันอุบัติเหตุในห้องทดลองไว้จะปลอดภัยกว่า
กรณีติดต่อผ่านสหกรณ์มหาวิทยาลัยจะต้องสมัครเป็นสมาชิกของสหกรณ์ก่อน (ค่าสมาชิกแรกเข้าจะได้รับคืนเมื่อยกเลิกการเป็นสมาชิก)
3.ลงทะเบียนคนต่างด้าว เมื่อทราบที่อยู่ที่แน่นอนแล้ว นำเอกสารจำเป็นในการลงทะเบียนคือ พาสปอร์ต และรูปถ่ายหน้าตรงสองใบ ไปลงทะเบียนคนต่างชาติที่อำเภอ (外国人登録 = gaikokujintoroku, หากบ้านอยู่ในเขตคิตะขุไปลงทะเบียนที่ 北区役所、北24西6) พร้อมทั้งขอทะเบียนบ้าน (ขนาดกระดาษA4, 登録原票記載事項証明書 = tourokugenpyoukisaijikoushoumeisho) ส่วนบัตรประจำตัวคนต่างชาติ (外国人登録証明書 = gaikokujintorokushoumeisho) เจ้าหน้าที่จะให้ใบแทนไว้ใช้ชั่วคราวและนัดมารับในอีก 3-4 อาทิตย์ถัดไป กรณีมาระยะสั้นให้เตรียมเอกสารรับรองทุนไปเผื่อเจ้าหน้าที่เรียกดูด้วย
4. ทำบัตรประกันสุขภาพ การทำบัตรประกันสุขภาพ ก็ให้ยื่นเรื่อง ที่ทีว่าการอำเภอ ที่ที่เราไปทำบัตรต่างด้าวเช่นกัน
ปกติ แล้ว หลังจากยื่นเรื่องทำบัตรต่างด้าวเสร็จก็ ไปยื่นเรื่องประกันสุขภาพเลย
หากไม่รู้จะทำยังไง ก็บอกกับเจ้าหน้าที่ว่า คกคุมินเคงโคโฮเกง โอ๊ะ สึคุริไตเดส
国民健康保険を作りたいです。
บอกไปแล้วเจ้าหน้าที่ก็จะเอาเอกสารมาให้กรอก ในประเทศญี่ปุ่น ค่ารักษาพยาบาคค่อนข้างแพงดังนั้นทุกคนที่มาอยู่ในญี่ปุ่นต้องทำ
ประกันสุขภาพ โดยเงินที่ต้องจ่ายต่อเดือน จะขึ้นอยู่กับรายได้ หากเป็นนักศึกษา
จะจ่ายประมาณเดือนละสองพันเยน เท่าน้น และนักศึกษาก็สามารถไปทำเรื่องเบิก
กับมหาลัย จะได้คืนมาอีกสามสิบเปอร์เซ็นของเงินที่จ่ายไป
เวลาไปโรงพยาบาลทุกรั้งทางโรงพยาบาลจะถามหาบัตรประกันสุขภาพ เสมอ หาก ไม่มีเราก็จะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลร้อยเปอร์เเซ็น
การตรวจโรคง่ายๆ โดยปกติ จะจ่าย จริง แค่ คนละ ประมาณ หนึ่งพันเยน ถึงสองพันเยน
สำหรับคนที่ทำงานในบริษัทญี่ปุ่น ให้นำใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลไปให้บริษัทดูด้วย
เพราะว่า บางบริษัทอาจจะมีประกันเพิ่มเติม และจะช่วยให้เราจ่ายค่ารักษาพยาบาลลดลงอีก
5. เปิดบัญชีธนาคาร นำทะเบียนบ้านไปเปิดบัญชีธนาคารที่จำเป็น เช่น ธนาคารไปรษณีย์ (จำเป็นมากสำหรับนักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่น)
และธนาคารเอกชนอื่น ๆ พร้อมทำบัตรเอทีเอ็ม (กรณีธนาคารไปรษณีย์หากเลือก Edyไปด้วย
บัตรจะส่งมาถึงเร็วกว่าปกติ ไม่เสียค่าธรรมเนียมเพิ่ม)
6. ทำบัตรนักศึกษา ติดต่อธุรการของแต่ละคณะเพื่อทำบัตรประจำตัวของทางมหาวิทยาลัย เช่น บัตรนักเรียน
บัตรนักศึกษาวิจัย เป็นต้น
7. ติดตั้งอินเตอร์เนท หากต้องการต่ออินเตอร์เนตและยังไม่ได้รับบัตรประจำตัวคนต่างชาติตัวจริง สามารถใช้พาสปอร์ตและทะเบียนบ้านสมัครได้ โดยโปรโมชั่นของแต่ละบริษัทจะแตกต่างกันไปให้เทียบดูในช่วงเวลาที่ต้องการจะติดตั้งนั้นว่าบริษัทใดให้ข้อเสนอที่ดี ยกตัวอย่างจากประสบการณ์ ไปติดต่อที่โยโดบาชิหลังจากใช้ไปสามเดือนจะมีบัตรของขวัญส่งมาให้ที่บ้าน10000 เยน ในขณะที่ไปติดต่อที่บิ๊กคาเมร่าจะได้บัตรของขวัญ 20000 เยน เพื่อซื้อของในห้างนั้น หากใครที่ต้องการซื้อคอมพิวเตอร์ใหม่พร้อมเปิดอินเตอร์เนตก็จะได้ส่วนลด 20000 - 40000 เยน แล้วแต่รุ่นคอมพิวเตอร์ที่เลือกซื้อ (ข้อมูลปี 2007)
8.เปิดมือถือ กรณีต้องการเปิดโทรศัพท์มือถือ นำทะเบียนบ้าน พาสปอร์ตและสมุดบัญชีเงินฝากไปเป็นเอกสารประกอบการเปิดใช้บริการ
รอรับเครื่องและใช้ได้ภายในหนึ่งชั่วโมงหลังลงทะเบียน ค่าลงทะเบียนเปิดเบอร์ใหม่ประมาณ
2800-3000 เยน โดยทางบริษัทมือถือจะส่งใบเรียกเก็บหรือตัดบัญชีหลังจากใช้ไปได้สักพัก
ในช่วงแรกอาจมีโปรโมชั่นให้ใช้บริการเสริมฟรี 2-4 เดือน หากไม่ได้ยกเลิกบริการพิเศษเหล่านี้ในช่วงเวลาที่กำหนดจะถือเป็นการต่อบริการเสริมโดยอัตโนมัติ
ส่วนระบบพรีเพดจะเสียค่าบริการโทรออกต่อนาทีมากกว่าปกติสามเท่าตัว ขึ้นอยู่กับโปรโมชั่นของแต่ละบริษัทเช่นกัน
9.สม้ครบัตรเครดิต
สำหรับนักศึกษาการสมัครบัตรเครดิตผ่านสหกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นวิธีที่สะดวกและทำได้ไม่ยาก ส่วนผู้ต้องการใช้บัตรเครดิตและสะสมไมล์ไปด้วย มี ANA credit card (student, ANA mileage club,ไม่เสียค่าธรรมเนียมรายปี) และ JAL credit card (เสียค่าธรรมเนียมรายปีและต้องการเอกสารประกอบเพิ่มเติม)
สำหรับพนักงานบริษัท
ถ้าหากทำงานกับบริษัทญี่ปุ่น การทำบัตรเครดิต เป็นเรื่องไม่ยาก สามารถสมัครกับบริษัทอะไรก็ได้
ที่มีการเปิดแคมเปญ
(by:Cherry)
กลับไปหน้าแรก
เมื่อย้ายเข้าบ้านใหม่ต้องทำอะไรบ้าง
1.
แจ้งที่ว่าการเขตที่อยู่อาศัยว่าได้ย้ายที่อยู่แล้ว
เจ้าหน้าที่จะบันทึกในใบต่างด้าว
2.
โทรบอกบริษัทแก้สว่าจะย้ายเข้ามาอยู่
บริษัทจะส่งคนมาจัดการเปิดแก้สและสอนวิธีใช้ให้
3.
โทรบอกบริษัทไฟฟ้าว่า
จะย้ายเข้าไปอยู่ และให้ส่งบิลมา
4.
โทรบอกสำนักงานประปา
ว่าย้ายเข้ามาอยู่แล้ว
5.
บอกไปรษณีย์ว่าเปลี่ยนที่อยู่แล้ว
เมื่อจะย้ายออกต้องทำอะไรบ้าง
1.
โทรบอกบริษัทบ้านล่วงหน้าอย่างน้อยหนึ่งเดือน
มิฉะนั้นจะต้องจ่ายค่าห้องเพิ่ม
2.
โทรบอกให้บริษัทน้ำมาคิดค่าน้ำและมาเก็บตังค์
3.
โทรบอกบริษัทไฟให้มาเก็บตังค์
4.
โทรบอกบริษัทแก้สให้มาเก็บตังค์
5.
หากติดต่ออินเตอร์เนตหรือโทรศัทพ์ที่บ้านให้ติดต่อยกเลิกด้วย
หากจะกลับเมืองไทยถาวรต้องทำอะไรบ้าง
1.
โทรบอกบริษัทบ้านว่าจะออกจากบ้าน
และแจ้งยกเลิกและจ่าย ค่า น้ำ ไฟ แก้ส
2.
ยกเลิกโทรศัทพ์มือถือ
3.
เช็คสมุดธนาคารที่มีทั้งหมด
และถอนเงินให้หมด
เพื่อความปลอดภัยให้ปิดบัญชีด้วย เผื่ออาจจะมีใครแอบอ้างชื่อในการทำธุรกรรม
ขณะที่เราไม่อยู่ในญี่ปุ่น
4.
คืนบัตรต่างด้าวให้กับเจ้าหน้าที่ตอนออกจากประเทศ
หากจะกลับเมืองไทยชั่วคราวต้องทำอย่างไรบ้าง
1.ไปสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
เพื่อทำ รีเอนทรี re-entry โดยปกติ
การทำรีเอนทรี มีสองแบบ คือ ใช้ได้ครั้งเดียว และใช้ได้หลายครั้ง หากคนที่คิดว่าจะกลับเมืองไทย
มากกว่าหนึ่งครั้งให้ ทำ แบบใช้ได้หลายครั้ง หากไม่มีรีเอนทรี จะไม่สามารถกลับเข้าประเทศญี่ปุ่นได้ และจะต้องทำวีซ่าใหม่ที่เมืองไทย
(หากใครลืมทำรีเอนทรี จะสามารถทำได้ที่ สนามบิน แต่เป็นกรณีพิเศษจริงๆ สามารถทำได้ที่สนามบินนาริตะ )
กลับไปหน้าแรก
|